ฤกษ์งามยามดีและการให้ฤกษ์ ตอนที่ ๔ เรียบเรียงโดย ปราณเวท
ฤกษ์ล่าง คือ ฤกษ์ที่มนุษย์ เป็นผู้กำหนดขึ้น ไม่ได้ใช้ ดาวบนท้องฟ้า เป็นเกณฑ์กำหนด สิ่งที่นำมาใช้สร้างกฎเกณฑ์ก็คือ วัน ดิถี(ข้างขึ้น-ข้างแรม) เดือน ปี เป็นฤกษ์ที่ไม่ต้องมีการคำนวณอะไร มากมาย ไม่ซับซ้อน อันได้แก่ กาลโยค , ดิถี ดี-ร้าย , ดิถีมหาสูญ ฯลฯ เป็นต้น
กาลโยค
คือ การกำหนด วัน ยาม ราศี ดิถี ฤกษ์ ที่เป็นมงคล และที่ไม่เป็นมงคลในการทำการ ประกอบพิธีการ ในแต่ละปี อันได้แก่ ธงชัย อธิบดี อุบาทว์ โลกาวินาศ ซึ่งกาลโยคจะเปลี่ยน เริ่มใช้ใหม่ทุกวันที่ ๑๖ เมษายน ของทุกปี
ธงชัย คือ สิริมงคล ยาตราประสบผลสำเร็จดี เหมาะแก่การทำการมงคลทุกชนิด
อธิบดี คือ สิริมงคล เหมาะแก่การทำการมงคลเกี่ยวกับ บ้าน ที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ การเกษตร
อุบาทว์ คือ ไม่เป็นมงคล เคราะห์ร้าย ให้หลีกเลี่ยงไม่ควรทำการมงคล
โลกาวินาศ คือ ไม่เป็นมงคล เกิดเหตุเภทภัย หายนะ สูญเสีย ให้หลีกเลี่ยงไม่ควรทำการมงคล
วิธีการคำนวณหากาลโยคประจำปี มีกฎเกณฑ์ดังต่อไปนี้
ธงชัย ให้เอา พ.ศ.ตั้งแล้วลบด้วย ๑๑๘๑ เหลือเท่าใด เอา ๑๐ คูณ แล้วบวกด้วย ๓ ได้เท่าใด ตั้งไว้เป็นเกณฑ์ เช่น พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๑๑๘๑ = ๑,๓๗๙ แล้ว คูณด้วย ๑๐ ได้ ๑๓,๗๙๐ จากนั้น บวก ๓ จะได้ ๑๓,๗๙๓ เอาเลขนี้ไว้เป็นเกณฑ์
หารด้วย ๗ เศษที่เหลือ จะเป็น วันธงชัย
หารด้วย ๘ เศษที่เหลือ จะเป็น ยามธงชัย
หารด้วย ๑๒ เศษที่เหลือ จะเป็น ราศีธงชัย
หารด้วย ๒๗ เศษที่เหลือ จะเป็น ฤกษ์ธงชัย
หารด้วย ๓๐ เศษที่เหลือ จะเป็น ดิถีธงชัย
อธิบดี ให้เอา พ.ศ.ตั้งแล้วลบด้วย ๑๑๘๑ เหลือเท่าใด เอา ๔๙๘ หาร เหลือเศษเท่าใด ตั้งไว้เป็นเกณฑ์
อุบาทว์ ให้เอา พ.ศ.ตั้งแล้วลบด้วย ๑๑๘๑ เหลือเท่าใด เอา ๑๐ คูณแล้วบวก ๒ ได้เท่าใด ตั้งไว้เป็นเกณฑ์
โลกาวินาศ ให้เอา พ.ศ.ตั้งแล้วลบด้วย ๑๑๘๑ เหลือเท่าใด เอา ๑๑๒๐ บวก ได้เท่าใด ตั้งไว้เป็นเกณฑ์
จากนั้น ก็ทำเหมือนกับการหาวัน ยาม ราศี ดิถี ฤกษ์ แบบ ธงชัย กล่าวคือ เอา ๗ มาหาร เกณฑ์ที่ตั้งไว้ เพื่อหาเศษ ได้เป็นวัน , เอา ๘ มาหาร เกณฑ์ที่ตั้งไว้ เพื่อหาเศษ ได้เป็นยาม เป็นต้น
วันดีวันมงคลประจำปี พ.ศ.๒๕๖๐ (กาลโยคประจำปี เริ่มตั้งแต่วันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๖๐ ถึงวันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๖๑ )
วันธงชัย คือ วันอังคาร
วันอธิบดี คือ วันพฤหัสบดี
วันอุบาทว์ คือ วันจันทร์
วันโลกาวินาศ คือ วันเสาร์
วัน ดิถี ดี-ร้าย
พิจารณาวัน กับ ดิถี ว่าดีร้ายประการใด เหมาะสมที่จะนำมาใช้กับ พิธีการใด กิจการงานใด
อ
|
จ
|
ภ
|
ว
|
ช
|
ศ
|
ส
|
วัน-ดิถี(ข้างขึ้น-แรม) ดี
|
๘
|
๓
|
๙
|
๒
|
๔
|
๑
|
๕
|
อำมฤคโชค
|
๑๑
|
๕
|
๑๔
|
๑๐
|
๙
|
๑๑
|
๔
|
สิทธิโชค(มหาวัน)
|
๑๔
|
๑๒
|
๑๓
|
๔
|
๗
|
๑๐
|
๑๕
|
มหาสิทธิโชค
|
๖
|
๓
|
๙
|
๖
|
๑๐
|
๑
|
๕
|
ราชาโชค
|
๘
|
๓
|
๑๑
|
๑๐
|
๔
|
๑
|
๑๑
|
ชัยโชค
|
อ
|
จ
|
ภ
|
ว
|
ช
|
ศ
|
ส
|
วัน-ดิถี (ข้างขึ้น-แรม) ร้าย
|
๑
|
๔
|
๖
|
๙
|
๕
|
๓
|
๗
|
ทักทิน
|
๔
|
๖
|
๑
|
๓
|
๘
|
๗
|
๑
|
ทรทึก
|
๑๒
|
๑๑
|
๗
|
๓
|
๖
|
๘
|
๙
|
ยมขันธ์
|
๑๒
|
๑๑
|
๑๐
|
๗
|
๘
|
๗
|
๖
|
ทัคธทิน
|
๔
|
๖
|
๑
|
๓
|
๓
|
๙
|
๑
|
อัคนิโรธ
|
๑
|
๒
|
๑๐
|
๗
|
๑
|
๖
|
๖
|
ทินกาล
|
๑๒
|
๑๐
|
๑๕
|
๘
|
๕
|
๗
|
๘
|
ทินสูร
|
๔
|
๖
|
๑
|
๓
|
๘
|
๙
|
๑๐
|
กาลโชค
|
๔
|
๒
|
๗
|
๕
|
๘
|
๓
|
๖
|
กาลสูร
|
๑๒
|
๑๑
|
๑๐
|
๙
|
๘
|
๗
|
๖
|
กาลทัณฑ์
|
๔
|
๖
|
๑๐
|
๙
|
๘
|
๙
|
๑
|
โลกาวินาศ
|
๔
|
๕
|
๖
|
๖
|
๘
|
๘
|
๙
|
วินาศ
|
๖
|
๑๐
|
๘
|
๗
|
๑๒
|
๙
|
๑๒
|
พิลา
|
๙
|
๑
|
๑๐
|
๙
|
๘
|
๗
|
๖
|
มฤตยู
|
๗
|
๘
|
๔
|
๗
|
๑
|
๑๔
|
๑๑
|
วันบอด
|
๕
|
๖
|
๑๐
|
๘
|
๑๐
|
๕
|
๗
|
กาลทิน
|
๑๒
|
๑๑
|
๗
|
๓
|
๖
|
๙
|
๘
|
ดิถีพิฆาฏ (ห้ามเด็ดขาด)
|
๒
|
๑๑
|
๗
|
๕
|
๖
|
๙
|
๘
|
พระกาล
|
วันดี-ร้าย
|
ความหมาย
|
อำมฤคโชค
|
ความสำเร็จดี มีโชคดี
|
สิทธิโชค (มหาวัน)
|
ความสำเร็จดี สมปรารถนา
|
มหาสิทธิโชค
|
ความสำเร็จอันดียิ่ง
|
ราชาโชค
|
โชคดี โชคที่ยิ่งใหญ่ โชคจากผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้สูงศักดิ์
|
ชัยโชค
|
โชคดี มีชัยชนะ
|
ทักทิน
|
วันที่ถูกทักท้วง ติเตียน เสื่อมเสีย
|
ทรทึก
|
วันที่ถูกลบหลู่ ครหานินทา
|
ทัคธทิน
|
วันที่ไฟจะไหม้
|
ยมขันธ์
|
วันที่เหมือนอยู่ในกองนรก
|
อัคนิโรธ
|
วันที่เหมือนอยู่ในกองไฟ ไฟจะรบกวน
|
ทินกาล
|
วันตาย
|
ทินสูร
|
วันที่จะเกิดการรบ ฆ่ากัน
|
กาลโชค
|
วันที่โชคร้าย โชคแห่งความตาย
|
กาลสูร
|
วันที่ถูกเบียดเบียน
|
กาลทัณฑ์
|
วันที่ถูกลงโทษ
|
โลกาวินาศ
|
วันแห่งความเสียหาย พินาศ
|
วินาศ
|
วันแห่งความพินาศ
|
พิลา
|
วันที่แตกหัก
|
มฤตยู
|
วันแห่งความตาย
|
วันบอด
|
วันแห่งความหมองเศร้า มืดมน ไม่เป็นผล
|
กาลทิน
|
วันแห่งโทษทุกข์
|
ดิถีมหาสูญ
ดิถีมหาสูญนี้ โหราจารย์ท่านห้ามไว้ ไม่ว่าจะเป็นฤกษ์ดีเพียงใดก็ตาม ก็ห้ามทำการเป็นอันขาด ดังคำที่กล่าวเป็นกลอนว่า “เป็นมหาสูญฤกษ์อันอาจหาญ ถึงฤกษ์อื่นหมื่นดีไม่ต้านทาน คงวิการจัญไรเกิดภัยโต” กลอนนี้ผม คัดมาเฉพาะบทลงท้าย จากตำราของ อ.เทพย์ สาริกบุตร ครับ
เดือน
|
ข้างขึ้น-แรม
|
|
อาทิตย์จรเข้าราศี
|
ข้างขึ้น-แรม
|
๖ , ๓
|
๔
|
เมษ , กรกฏ
|
๖
|
๗ , ๑๐
|
๘
|
พฤษภ , กุมภ์
|
๔
|
๘ , ๕
|
๖
|
มิถุน , กันย์
|
๘
|
๑๑ , ๒
|
๑๒
|
ธนู , มีน
|
๒
|
๙ , ๑๒
|
๑๐
|
สิงห์ , พิจิก
|
๑๐
|
๑ , ๔
|
๒
|
ตุลย์ , มังกร
|
๑๒
|
ดิถีอัคนิโรธน์
ว่าด้วยดิถีที่ห้ามทำการต่างๆ นาๆ
ข้างขึ้น-แรม
|
อัคนิโรธน์
|
๑
|
อัคนิโรธน์ ตกลงใน วัวควาย ห้ามมิให้ไป ซื้อวัวควาย
|
๒
|
อัคนิโรธน์ ตกลงใน ป่า ห้ามมิให้ไป เที่ยวป่า
|
๓
|
อัคนิโรธน์ ตกลงใน น้ำ ห้ามมิให้ไป ทางน้ำ ทางเรือ
|
๔
|
อัคนิโรธน์ ตกลงใน ภูเขา ห้ามมิให้ไป เที่ยวภูเขา
|
๕
|
อัคนิโรธน์ ตกลงใน เขตที่ทาง ห้ามมิให้ไป แบ่งปัน เขตแดน ที่ดิน
|
๖
|
อัคนิโรธน์ ตกลงใน บ้าน ห้ามมิให้ ปลูกบ้าน ทำการมงคลในบ้าน
|
๗
|
อัคนิโรธน์ ตกลงใน พระบรมราชวัง ห้ามทำ พระราชพิธี บรมราชาภิเษก
|
๘
|
อัคนิโรธน์ ตกลงใน ยวดยาน ห้ามมิให้ไปซื้อรถ เอารถออกจากอู่ ขับขี่ยวดยาน
|
๙
|
อัคนิโรธน์ ตกลงใน ผืนแผ่นดิน ห้ามมิให้ขุดหลุม เพื่อฝังเสาปลูกบ้าน
|
๑๐
|
อัคนิโรธน์ ตกลงใน เรือ ห้ามมิให้ลงเรือ ต่อเรือ เอาเรือลงคาน ลงน้ำ
|
๑๑
|
อัคนิโรธน์ ตกลงใน พืชพันธุ์ไม้ ห้ามมิให้ เพาะปลูก หว่าน ขยายพันธุ์พืช
|
๑๒
|
อัคนิโรธน์ ตกลงใน ตัวสตรี ห้ามมิให้ไป เสพเมถุนกับสตรี
|
๑๓
|
อัคนิโรธน์ ตกลงใน ตัวบุรุษ ห้ามมิให้ไป เสพเมถุนกับบุรุษ
|
๑๔
|
อัคนิโรธน์ ตกลงใน พัทธเสมา ห้ามมิให้ บรรพชา อุปสมบท
|
๑๕
|
อัคนิโรธน์ ตกลงใน เทพาอารักษ์ทั้งหลาย ห้ามมิให้ บวงสรวง พลีกรรม
|
กทิงวัน (กระทิงวัน)
เป็นวันที่แรง กล้าแข็ง จะมุ่งเน้นไปในทางความรุนแรง แตกหัก อุบัติเหตุ จึงไม่เหมาะแก่การนำมาใช้ในงานมงคลต่างๆ จะมีใช้บ้างก็เป็น งานพิธีการ โดยพิจารณาจาก ดิถี เดือน ทางจันทรคติ
กทิงวัน ที่ร้ายแรงที่สุด คือ วัน ดิถี เดือน เป็นไปตามกฎเกณฑ์ ด้านล่างนี้ครับ
วัน
|
ข้างขึ้น-แรม
|
เดือน
|
อาทิตย์
|
๑
|
๑
|
จันทร์
|
๒
|
๒
|
อังคาร
|
๓
|
๓
|
พุธ
|
๔
|
๔
|
พฤหัสบดี
|
๕
|
๕
|
ศุกร์
|
๖
|
๖
|
เสาร์
|
๗
|
๗
|
อาทิตย์
|
๘
|
๘
|
จันทร์
|
๙
|
๙
|
อังคาร
|
๑๐
|
๑๐
|
พุธ
|
๑๑
|
๑๑
|
พฤหัสบดี
|
๑๒
|
๑๒
|
กฎเกณฑ์ กทิงวัน ที่เบาลงคือ วัน-ดิถี (วันอาทิตย์ ขึ้น-แรม ๑ ค่ำ) หรือ ดิถี-เดือน (ขึ้น-แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑ อ้าย)
กทิงวัน ยังสามารถนำมาพยากรณ์ พื้นดวงชะตาได้ด้วย กล่าวคือ ชะตาผู้ใดที่เกิดมา ต้องกทิงวัน ย่อมมีโอกาสที่จะ เสียชีวิตอย่างปัจจุบัน ทันด่วน หรือ เกิดอุบัติเหตุ ในวันที่เป็นกทิงวัน
กทิงวัน ตรงกับวันอาทิตย์ จะมีภัยเพราะ ทิฐิ ทะนงตัว อวดศักดิ์ศรี ตายในขณะที่ตนเองรุ่งโรจน์
กทิงวัน ตรงกับวันจันทร์ จะมีภัยเพราะ ถูกหลอก หลงกลผู้อื่น หรือ เปลี่ยนใจ
กทิงวัน ตรงกับวันอังคาร จะมีภัยเพราะ เป็นอันธพาล ทะนงตน นักเลง ท้าทายกัน
กทิงวัน ตรงกับวันพุธ จะมีภัยเพราะ โรคทางสมอง ใส่ร้ายปรักปรำผู้อื่น กล่าวร้ายผู้อื่น
กทิงวัน ตรงกับวันพฤหัสบดี จะมีภัยเพราะ ประพฤติชั่วร้ายแรง ทำลายความดีของผู้อื่น
กทิงวัน ตรงกับวันศุกร์ จะมีภัยเพราะ ประพฤติผิดลูกเมียผู้อื่น ตายเพราะเรื่องเพศ
กทิงวัน ตรงกับวันเสาร์ จะมีภัยเพราะ ปากร้าย ดูถูกดูหมิ่นผู้อื่น เสียสติ เกิดอุบัติเหตุ
บทความฯ ตอนที่ ๔ นี้ เห็นทีต้องขอจบเพียงเท่านี้ก่อนครับ พิมพ์ไม่ไหว (ทั้งพิมพ์ทั้งตรวจทาน ตรวจสอบกับตำราฤกษ์ต่างๆ)เนื้อหาที่เหลือ ขอไปเป็นตอนที่ ๕ นะครับ เพราะฉะนั้น ที่คิดไว้ตอนแรกว่าจะ ๕ ตอนจบ คงไม่จบแล้วครับ อาจจะเป็น ๖-๗ ตอนก็เป็นได้ พยายามคัดมาเฉพาะเท่าที่จำเป็นต้องใช้ แต่ก็ยังมีเนื้อหามากอยู่ดี โปรดติดตามตอนต่อไป สัปดาห์หน้าครับ
๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐