ฤกษ์งามยามดีและการให้ฤกษ์ ตอนที่ ๓ เรียบเรียงโดย ปราณเวท
เกริ่นกล่าว เมื่อได้แนะนำให้รู้จักกับ ฤกษ์บน แล้ว จากนั้นก็จะเป็นปกรณ์ของ ฤกษ์ล่าง (ซึ่งทั้ง ฤกษ์บน-ฤกษ์ล่าง ผมขอนำมาพิมพ์ลงเว็บฯ พอสังเขปนะครับ) และจะจบด้วย วิธีการให้ฤกษ์ วางลัคนาดวงฤกษ์ ก็น่าจะเป็น ตอนที่ ๕ ตามที่คิดไว้ เอาล่ะ ..มาว่ากันต่อครับ
บูรณะฤกษ์(ฤกษ์เต็ม) คือ ฤกษ์ที่ดีเหมาะแก่งานมงคล หมายถึง ฤกษ์ที่มีบาทฤกษ์ทั้งสี่ อยู่ในราศีเดียวกัน
ดาวเจ้าฤกษ์
เป็นดาวที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแล ฤกษ์นั้นๆ ซึ่งจะอยู่ใน วงเล็บต่อท้าย แต่ละฤกษ์
หมวดฤกษ์ที่ ๑ ทลิทโทฤกษ์ ได้แก่ ฤกษ์ที่ ๑ (๖) ๑๐ (๓) ๑๙ (๗)
หมวดฤกษ์ที่ ๒ มหัทธโนฤกษ์ ได้แก่ ฤกษ์ที่ ๒ (๖) ๑๑ (๓) ๒๐ (๕)
หมวดฤกษ์ที่ ๓ โจโรฤกษ์ ได้แก่ ฤกษ์ที่ ๓ (๑) ๑๒ (๓) ๒๑ (๕)
หมวดฤกษ์ที่ ๔ ภูมิปาโลฤกษ์ ได้แก่ ฤกษ์ที่ ๔ (๑) ๑๓ (๔) ๒๒ (๕)
หมวดฤกษ์ที่ ๕ เทศาตรีฤกษ์ ได้แก่ ฤกษ์ที่ ๕ (๑) ๑๔ (๔) ๒๓ (๘)
หมวดฤกษ์ที่ ๖ เทวีฤกษ์ ได้แก่ ฤกษ์ที่ ๖ (๒) ๑๕ (๔) ๒๔ (๘)
หมวดฤกษ์ที่ ๗ เพชฌฆาตฤกษ์ ได้แก่ ฤกษ์ที่ ๗ (๒) ๑๖ (๔) ๒๕ (๘)
หมวดฤกษ์ที่ ๘ ราชาฤกษ์ ได้แก่ ฤกษ์ที่ ๘ (๒) ๑๗ (๗) ๒๖ (๖)
หมวดฤกษ์ที่ ๙ สมโณฤกษ์ ได้แก่ ฤกษ์ที่ ๙ (๒) ๑๘ (๗) ๒๗ (๖)
จักขุมายาฤกษ์
ปกรณ์นี้ โหราจารย์แต่โบราณกาลมา ท่านนับถือและให้ความสำคัญมาก เป็นเรื่องของการสอบผลฤกษ์ ซึ่งท่านได้วางหลักเกณฑ์ไว้ว่า ให้เอาฤกษ์ ที่พระจันทร์เสวยฤกษ์ มาเป็นเกณฑ์ คือ ดาวจันทร์เกาะ นักษัตรฤกษ์ที่เท่าไร ก็ให้ตั้ง ลำดับนักษัตรฤกษ์ นั้นแล้วบวกด้วยเกณฑ์วัน ที่จะทำการ (ที่อยู่ด้านล่าง)
ระวิฉัฏโฐ คือ วันอาทิตย์ เกณฑ์ ๖
ทเวจันโท คือ วันจันทร์ เกณฑ์ ๒
ภุมโมปัญจ คือ วันอังคาร เกณฑ์ ๕
พุธเอโก คือ วันพุธ เกณฑ์ ๑
ชีโวจัตวา คือ วันพฤหัสบดี เกณฑ์ ๔
ศุกราสูญญ คือ วันศุกร์ เกณฑ์ ๐ หรือ ๗
โสรตรีนิ คือ วันเสาร์ เกณฑ์ ๓
นำผลบวกที่ได้ มาหารด้วย ๗ เหลือเศษ เท่าไร ก็ให้พยากรณ์ ตามเศษ (ยกตัวอย่าง ดาวจันทร์เกาะนักษัตรปุรพาษาฒ ฤกษ์ที่ ๒๐ แล้วจะทำการวันอาทิตย์ เท่ากับ ๒๐ + ๖ = ๒๖ แล้ว เอา ๒๖ ÷ ๗ = ๓ เศษ ๕ เราก็นำเศษ ๕ มาพยากรณ์ ตามรายละเอียดด้านล่าง
เศษ ๑ อุบาทว์ ร้ายไม่ดี
เศษ ๒ กาลกิณี ร้ายไม่ดี
เศษ ๓ มฤตยู แสนเข็ญ ครูท่านให้เว้น
เศษ ๔ สาธุโยคบูชา เกิดสวัสดิมงคล พูลผล
เศษ ๕ สิทธิโชค สำเร็จทุกประการ
เศษ ๖ อำมฤคโชค โชคดี ทุกสถาน ทำสวนไร่นา หว่านพืชผล ดี
เศษ ๐ (ไม่มีเศษ หรือเศษ ๗ ) สรรพโยคอำพล สร้างวัด หล่อพระ ปลุกเสก ต่อเรือ ศิลปกรรม หัตถกรรม ดี
ถ้าจะนำมาพยากรณ์ดวงชะตาบุคคล ก็สามารถนำปกรณ์นี้ มาใช้ได้เช่นกัน คือ วันที่เกิด ดาวจันทร์เกาะนักษัตรฤกษ์ที่ เท่าไร ก็นำมาบวกกับ เกณฑ์วันที่เกิด แล้วหารด้วย ๗ เหลือเศษเท่าไร ให้นำมาพยากรณ์ตามเศษดังนี้
เศษ ๑ อุบาทว์ เข็ญใจ ไร้ทรัพย์สิน เงินทอง
เศษ ๒ กาลกิณี ลำบากยากจน กำพร้า พลัดพรากจากครอบครัว
เศษ ๓ มฤตยู มีโรคประจำตัว มักเจ็บป่วย ตกทุกข์ได้ยาก
เศษ ๔ สิทธิ สาธุโยคบูชา สติปัญญาดี รอบรู้สรรพศาสตร์ จะได้เป็นใหญ่เป็นโต
เศษ ๕ สิทธิโชค สวัสดี เป็นนักปราชญ์ เป็นใหญ่เป็นโต ผู้คนนับถือ ไม่ขัดสน
เศษ ๖ อำมฤคโชค เป็นเศรษฐี คหบดี ทรัพย์สินมากมาย
เศษ ๐ (ไม่มีเศษ หรือเศษ ๗ ) สรรพโยคอำพน มีตบะเดชะ อำนาจบารมี ป้องกันเภทภัยทั้งปวง
สกุณฤกษ์
เป็นการแสดงผลนิมิต ตามยามที่จะทำการ โดยโหราจารย์ท่านให้ ตั้งเกณฑ์วันที่จะทำการ (ใช้เกณฑ์วัน แบบเดียวกับ จักขุมายาฤกษ์) บวกกับ ยามที่จะทำการ (ยามอัฏฐกาล) แล้วนำ ๗ มาหาร เหลือเศษ เท่าใด ให้พิจารณานิมิตตามเศษ ต่อไปนี้
เศษ ๑ จะเห็นไก่ หรือ นก มาเป็นนิมิต
เศษ ๒ จะเห็น เด็ก มาเป็นนิมิต
เศษ ๓ จะเห็น ผู้คนแห่ ห้อมล้อม มาเป็นนิมิต
เศษ ๔ จะได้ยินเสียง ดีด สี ตี เป่า โห่ร้อง มาเป็นนิมิต
เศษ ๕ จะเห็น พระ สมณะชีพราหมณ์ มาเป็นนิมิต
เศษ ๖ จะได้ยิน เสียงฆ้อง กลอง แตร สังข์ มาเป็นนิมิต
เศษ ๐,๗ จะเห็น นก มาเป็นนิมิต
นิมิต ตามเศษนี้ ถ้าปรากฏให้เห็น ในยามทำการจะเป็นนิมิตที่ดี ของเจ้าของงาน เรื่องของนิมิต ที่เป็นนก ท่านว่า ถ้าเป็นนกกระเรียน นกกา บินมา จะดีเปรียบเหมือน สมณะชีพราหมณ์ เสนาบดีมา แต่ถ้าเป็น นกแร้ง ท่านว่าเป็นนิมิตร้าย เป็นเสนียดจัญไร ไม่ดี
นิมิตนี้ ยังมีใช้กับ ลัคนาดวงฤกษ์ ด้วย กล่าวคือ ถ้าลัคนาดวงฤกษ์ เกาะตรียางค์ ใด แล้วในขณะทำการอยู่นั้น ปรากฏนิมิต ต่างๆ ก็จะสามารถ พยากรณ์เหตุดี-ร้าย แห่งนิมิต นั้นได้ (พิจารณา ลัคนาดวงฤกษ์ เกาะตรียางค์ ต่างๆ)
ตรียางค์ อาทิตย์ ถ้าได้ยินเสียงไก่ขัน ทางบูรพา(ทิศตะวันออก) ทำการมงคลจะเดือดร้อน
ตรียางค์ จันทร์ ถ้าได้ยินเสียงคนหัวเราะ โห่ร้อง ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ทำการแล้วจะมีลาภมาก
ตรียางค์ อังคาร ถ้าได้ยินเสียงทะเลาะวิวาทกัน ทางหรดี(ทิศตะวันตกเฉียงใต้) ไม่ดี อย่าทำการ
ตรียางค์ พุธ ถ้าได้ยินเสียง โคร้อง ทางทิศตะวันตก ทำการมงคล ยาตรา ได้ลาภ ดีนักแล
ตรียางค์ พฤหัสบดี ถ้าได้ยินเสียง คนเจรจากัน ทางทิศตะวันตก และตะวันตกเฉียงใต้ จะได้ลาภดีนักแล
ตรียางค์ ศุกร์ ถ้าได้ยินเสียง ขับร้อง ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทำการแล้วจะดี มีลาภ
ตรียางค์ เสาร์ ถ้าได้ยินเสียง ฆ้องกลอง ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทำการมงคลไม่ดี จะวิวาทกัน
ตารางฤกษ์กนกนารี (วันที่ห้ามทำการในแต่ละฤกษ์)
ฤกษ์ที่
|
อ
|
จ
|
ภ
|
ว
|
ช
|
ศ
|
ส
|
หมายเหตุ
|
๑
|
|
++
|
++
|
++
|
++
|
|
++
|
ฤกษ์กนกนารี นี้เป็นตำราโบราณ โหราจารย์ท่านนิยมใช้คู่กับ ฤกษ์กนกบัญชร(กุญชร)
เพื่อความสะดวก ผมจึงนำวันที่ห้ามทำการ(เครื่องหมาย ++) ในแต่ละฤกษ์นักษัตรมาลงไว้
ยกตัวอย่างเช่น ฤกษ์ที่ ๑ ห้ามทำการในวัน จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี และ เสาร์ เป็นต้น
|
๒
|
++
|
++
|
|
|
|
|
++
|
๓
|
|
++
|
|
++
|
++
|
++
|
|
๔
|
++
|
|
++
|
|
++
|
++
|
++
|
๕
|
++
|
++
|
++
|
++
|
++
|
|
++
|
๖
|
++
|
++
|
++
|
++
|
++
|
|
++
|
๗
|
|
|
|
|
++
|
|
++
|
๘
|
|
++
|
|
|
++
|
++
|
++
|
๙
|
|
++
|
++
|
|
|
++
|
|
๑๐
|
|
|
++
|
++
|
|
|
|
๑๑
|
++
|
|
++
|
|
|
++
|
++
|
๑๒
|
|
|
++
|
++
|
++
|
++
|
++
|
๑๓
|
|
|
++
|
|
|
|
++
|
๑๔
|
++
|
|
++
|
|
|
++
|
++
|
๑๕
|
|
++
|
|
++
|
|
++
|
++
|
๑๖
|
|
++
|
++
|
|
|
|
|
๑๗
|
++
|
++
|
++
|
++
|
|
|
|
๑๘
|
|
++
|
++
|
|
|
|
++
|
๑๙
|
++
|
|
++
|
++
|
++
|
++
|
++
|
๒๐
|
|
++
|
|
++
|
++
|
|
|
๒๑
|
|
|
++
|
|
|
|
|
๒๒
|
++
|
|
++
|
++
|
|
|
++
|
๒๓
|
|
++
|
++
|
++
|
++
|
|
|
๒๔
|
++
|
++
|
|
++
|
|
++
|
++
|
๒๕
|
|
|
|
|
|
++
|
++
|
๒๖
|
|
|
|
|
++
|
|
++
|
๒๗
|
|
|
|
|
++
|
++
|
++
|
ฤกษ์กนกบัญชร(กุญชร) (วัน-ฤกษ์ที่ ห้ามวางลัคนาดวงฤกษ์ในราศีต่างๆ)
ตามตำราถือว่า เป็นหลักสำคัญในการวางลัคนาดวงฤกษ์ ผมคัดมาเฉพาะ เกณฑ์ที่ท่านได้ห้ามไว้ (ตำราฤกษ์กนกบัญชร นี้มีหลายตำรา ที่ขัดแย้งไม่ตรงกันหลายจุด ผมคัดมาโดยยึดตำราของท่าน พันตรี หลวงวุฒิรณพัสดุ์(วุฒิ วิเศษจินดา) ไว้เป็นหลักครับ)
วันอาทิตย์
ฤกษ์ที่
|
ห้ามวางลัคนาไว้ที่ราศี
|
๑ , ๒
|
กรกฏ
|
๓ , ๔
|
กรกฏ มีน
|
๑๑ , ๑๒
|
กันย์ ธนู
|
๑๕ , ๑๖
|
เมษ พฤษภ มังกร
|
๑๗ , ๑๘
|
พฤษภ มังกร
|
๑๙ , ๒๐
|
มังกร มีน
|
๒๕ , ๒๖
|
ตุลย์ พิจิก
|
วันจันทร์
ฤกษ์ที่
|
ห้ามวางลัคนาไว้ที่ราศี
|
๑ , ๒
|
กันย์ ตุลย์ มีน
|
๕ , ๖
|
มิถุน มังกร
|
๗ , ๘
|
สิงห์ มังกร กุมภ์
|
๙ , ๑๐
|
เมษ สิงห์ กุมภ์
|
๑๕ , ๑๖
|
กรกฏ ตุลย์
|
๑๙ , ๒๐
|
กรกฏ ตุลย์
|
๒๓ , ๒๔
|
พฤษภ กรกฏ
|
๒๕ , ๒๖ , ๒๗
|
กรกฏ ตุลย์ พิจิก
|
วันอังคาร
ฤกษ์ที่
|
ห้ามวางลัคนาไว้ที่ราศี
|
๑ , ๒ , ๓
|
กรกฏ กันย์ ตุลย์
|
๔ , ๕ , ๖
|
มิถุน กรกฏ ธนู มีน
|
๗ , ๘ , ๙
|
เมษ ธนู กุมภ์ มิถุน
|
๑๓ , ๑๔ , ๑๕
|
มิถุน สิงห์ ธนู
|
๑๖ , ๑๗ , ๑๘
|
กันย์ พิจิก มังกร
|
๑๙ , ๒๐ , ๒๑
|
เมษ
|
๒๕ , ๒๖ , ๒๗
|
เมษ กันย์
|
วันพุธ
ฤกษ์ที่
|
ห้ามวางลัคนาไว้ที่ราศี
|
๑ , ๒ , ๓
|
เมษ มิถุน กรกฏ กันย์ ตุลย์ กุมภ์
|
๔ , ๕ , ๖
|
กันย์ พิจิก มีน
|
๗ , ๘ , ๙
|
พิจิก กุมภ์ ตุลย์
|
๑๐ , ๑๑ , ๑๒
|
มิถุน ธนู
|
๑๓ , ๑๔ , ๑๕
|
มิถุน เมษ ธนู
|
๑๖ , ๑๗ , ๑๘
|
กรกฏ กันย์ กุมภ์
|
๒๒ , ๒๓ , ๒๔
|
กันย์
|
๒๕ , ๒๖ , ๒๗
|
พิจิก
|
วันพฤหัสบดี
ฤกษ์ที่
|
ห้ามวางลัคนาไว้ที่ราศี
|
๑ , ๒ , ๓
|
เมษ พฤษภ มิถุน สิงห์ กันย์ ตุลย์ ธนู กุมภ์
|
๔ , ๕ , ๖
|
มิถุน ธนู
|
๗ , ๘ , ๙
|
ห้ามปลูกเรือน
|
๑๓ , ๑๔ , ๑๕
|
สิงห์ ธนู มีน
|
๑๖ , ๑๗ , ๑๘
|
พฤษภ ตุลย์ ธนู
|
๑๙ , ๒๐ , ๒๑
|
สิงห์ ธนู
|
๒๒ , ๒๓ , ๒๔
|
สิงห์ ธนู กุมภ์
|
๒๕ , ๒๖ , ๒๗
|
พฤษภ มิถุน สิงห์ กันย์ พิจิก ธนู มังกร มีน
|
วันศุกร์
ฤกษ์ที่
|
ห้ามวางลัคนาไว้ที่ราศี
|
๔ , ๕ , ๖
|
มีน ตุลย์
|
๗ , ๘ , ๙
|
พฤษภ มิถุน ตุลย์
|
๑๐ , ๑๑ , ๑๒
|
พฤษภ มิถุน กันย์
|
๑๙ , ๒๐ , ๒๑
|
สิงห์ ตุลย์
|
๒๒ , ๒๓ , ๒๔
|
เมษ มิถุน กรกฏ สิงห์ ตุลย์ พิจิก ธนู มังกร มีน
|
๒๕ , ๒๖ , ๒๗
|
เมษ มิถุน สิงห์ กันย์ พิจิก ธนู มังกร มีน
|
วันเสาร์
ฤกษ์ที่
|
ห้ามวางลัคนาไว้ที่ราศี
|
๑ , ๒ , ๓
|
กรกฏ ธนู มีน
|
๗ , ๘ , ๙
|
สิงห์
|
๑๐ ถึง ๒๔
|
เมษ พฤษภ มิถุน กรกฏ สิงห์ กันย์ พิจิก ธนู มังกร กุมภ์ มีน
|
๒๕ , ๒๖ , ๒๗
|
เมษ พฤษภ มิถุน กรกฏ ธนู มังกร กุมภ์
|
ฤกษ์เข้า-ฤกษ์ออก
ฤกษ์ออก ได้แก่ ฤกษ์ที่ ๑ ๒ ๓ ๘ ๙ ๑๐ ๑๕ ๑๖ ๑๗ ๒๒ ๒๓ ๒๔
เป็นฤกษ์ที่ใช้สำหรับ การเดินทาง ออกจากบ้าน ยาตราทัพ ลาสิกขาบท ติดต่องานภายนอก
ฤกษ์เข้า ได้แก่ ฤกษ์ที่ ๔ ๕ ๖ ๑๑ ๑๒ ๑๓ ๑๘ ๑๙ ๒๐ ๒๕ ๒๖ ๒๗
เป็นฤกษ์ที่ใช้สำหรับ ปลูกบ้าน งานขึ้นบ้านใหม่ เข้าบ้าน แต่งงาน (ฤกษ์ขันหมาก) นำผู้คน สิ่งของ ทรัพย์สิน ช้างม้าวัวควาย เข้าบ้าน
ฤกษ์กรรมบาท ได้แก่ ๐ ๗ ๑๔ ๒๑ เป็นฤกษ์ที่ใช้สำหรับ การเก็บรักษา เงินทอง ข้าวของ ให้อยู่มั่นคงถาวร เช่น นำข้าวเข้ายุ้งฉาง (ตามประเพณีโบราณ)
มหาฤกษ์
วันมหาฤกษ์นั้นเป็นวันได้ฤกษ์มงคล แต่ต้องไม่เป็น วัน,ยาม,ราศี,ดิถีฤกษ์ซึ่งเป็น อุบาทว์ โลกาวินาศ ตามกาลโยคประจำปี ท่านว่าทำการมงคลทั้งปวงประเสริฐนัก โดยมีเกณฑ์ดังนี้
พระจันทร์เสวยฤกษ์ที่ ๒ วางลัคนามหาฤกษ์ไว้ที่ ราศี ธนู
พระจันทร์เสวยฤกษ์ที่ ๖ วางลัคนามหาฤกษ์ไว้ที่ ราศี กุมภ์
พระจันทร์เสวยฤกษ์ที่ ๙ วางลัคนามหาฤกษ์ไว้ที่ ราศี มีน
พระจันทร์เสวยฤกษ์ที่ ๑๐ วางลัคนามหาฤกษ์ไว้ที่ ราศี เมษ
พระจันทร์เสวยฤกษ์ที่ ๑๓ วางลัคนามหาฤกษ์ไว้ที่ ราศี พฤษภ
พระจันทร์เสวยฤกษ์ที่ ๑๕ วางลัคนามหาฤกษ์ไว้ที่ ราศี มิถุน
พระจันทร์เสวยฤกษ์ที่ ๑๖ วางลัคนามหาฤกษ์ไว้ที่ ราศี กรกฏ
พระจันทร์เสวยฤกษ์ที่ ๑๘ วางลัคนามหาฤกษ์ไว้ที่ ราศี มังกร
พระจันทร์เสวยฤกษ์ที่ ๑๙ วางลัคนามหาฤกษ์ไว้ที่ ราศี สิงห์
พระจันทร์เสวยฤกษ์ที่ ๒๒ วางลัคนามหาฤกษ์ไว้ที่ ราศี กันย์
พระจันทร์เสวยฤกษ์ที่ ๒๔ วางลัคนามหาฤกษ์ไว้ที่ ราศี ตุลย์
พระจันทร์เสวยฤกษ์ที่ ๒๗ วางลัคนามหาฤกษ์ไว้ที่ ราศี พิจิก
เพชรฤกษ์
เป็นฤกษ์ที่ใช้ สำหรับประกอบพิธีกรรม อาถรรพ์ศาสตร์ต่างๆ เรียนวิทยาอาคม ลงอักขระเลขยันต์ ปลุกเสกเครื่องรางของขลัง ฝังอาถรรพ์ ล้างอาถรรพณ์ แก้คุณไสย ใช้การต่อสู้ ณรงค์สงคราม ปราบปรามอริศัตรู ประสิทธินักแล
วันอาทิตย์ พระจันทร์เสวยฤกษ์ที่ ๑๙, ๒๐
วันจันทร์ พระจันทร์เสวยฤกษ์ที่ ๒๔, ๒๕
วันอังคาร พระจันทร์เสวยฤกษ์ที่ ๑, ๒๗
วันพุธ พระจันทร์เสวยฤกษ์ที่ ๔, ๒๒
วันพฤหัสบดี พระจันทร์เสวยฤกษ์ที่ ๙, ๒๓
วันศุกร์ พระจันทร์เสวยฤกษ์ที่ ๑๒, ๑๔
วันเสาร์ พระจันทร์เสวยฤกษ์ที่ ๑๗, ๑๘
สำหรับ ตอนที่ ๓ นี้ผมได้นำเสนอกฏเกณฑ์ของ ฤกษ์บน ที่เป็นที่นิยม ในการนำมาพิจารณาประกอบ ในการหาฤกษ์ คงต้องยุติเพียงเท่านี้ ส่วนในตอนที่ ๔ ก็จะเป็นปกรณ์ต่างๆ ของ ฤกษ์ล่าง ครับ
๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐