โหราศาสตร์ ขั้นพื้นฐาน
จักรราศี
คือ วิถีการโคจรของดวงอาทิตย์ ผ่านกลุ่มดาวต่างๆ 12 กลุ่ม ในรอบ 1 ปี ที่เรียกว่า “เส้นรวิมรรค” หรือ “เส้นสุริยวิถี” ซึ่งมีลักษณะเป็นวงกลม 360 องศา และแบ่งกลุ่มดาวออกเป็น 12 ราศีซึ่งแต่ละราศีจะมีสัญลักษณ์ ครองอยู่มีระยะ 30 องศา เรียกว่า “จักรราศี” แล้วนำลักษณะท้องฟ้าที่ปรากฏ มาเขียนได้รูปวงกลมแบ่งเป็น 12 ช่องตามราศี
โดยเริ่มต้นที่ราศีเมษ (ใช้เลข 0 แทนราศีเมษ) ในเดือนเมษายน ตามระบบสุริยะคติ เรียงไปจนถึงราศีสุดท้ายที่ ราศีมีน(ใช้เลข 11 แทนราศีมีน) ในเดือนมีนาคม ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ชื่อราศี สัญลักษณ์ เลขแทนราศี ธาตุราศี ดาวเกษตร
เมษ แกะ ๐ ไฟ ๓
พฤษภ โค ๑ ดิน ๖
มิถุน คนคู่ ๒ ลม ๔
กรกฎ ปู ๓ น้ำ ๒
สิงห์ สิงโต ๔ ไฟ ๑
กันย์ หญิงสาว ๕ ดิน ๔
ตุลย์ คันชั่ง ๖ ลม ๖
พิจิก แมงป่อง ๗ น้ำ ๓
ธนู คนยิงธนู ๘ ไฟ ๕
มังกร มังกร ๙ ดิน ๗
กุมภ์ คนแบกหม้อน้ำ ๑๐ ลม ๘
มีน ปลาคู่ ๑๑ น้ำ ๕
มาตราโหราศาสตร์
1 วงกลมจักรวาล = 12 ราศี
1 วงกลมจักรวาล = 360 องศา
1 ราศี = 30 องศา( 3 ตรียางค์ หรือ 9 นวางศ์)
1 ตรียางค์ = 10 องศา ( 3 นวางศ์)
1 นวางศ์ = 3 องศา 20 ลิปดา
1 องศา = 60 ลิปดา
1 ลิปดา = 60 พิลิปดา
ประเภทราศี (คุณะราศี)
จรราศี คือ ราศีแกน ได้แก่ ราศี เมษ กรกฏ ตุลย์ มังกร ราศีเหล่านี้มีอิทธิพลให้ดาวที่เข้ามาอยู่ในราศี มีความเข้มแข็ง หนักแน่นรุนแรง ขยายออกไป ไม่หยุดนิ่ง
สถิรราศี คือ ราศีที่อยู่หน้าราศีแกน (ทวนเข็มนาฬิกา) ได้แก่ ราศี พฤษภ สิงห์ พิจิก กุมภ์ราศีเหล่านี้มีอิทธิพลให้ดาวที่เข้ามาอยู่มีความมั่นคง หยุดนิ่ง ไม่เปลี่ยนแปลง
อุภัยราศี คือ ราศีที่อยู่หลังราศีแกน (ทวนเข็มนาฬิกา) ได้แก่ ราศี มิถุน กันย์ ธนู มีน ราศีเหล่านี้มีอิทธิพลให้ดาวที่เข้ามาอยู่ มีความไม่แน่นอน มีการเปลี่ยนแปลงเสมอ ทั้งดีและร้าย
รูปดวงจาก ตำรา อ.อรุณ ลำเพ็ญ
ธาตุราศี
ราศีธาตุไฟ หมายถึง สติปัญญา ความกระตือรือร้น ความก้าวหน้า ความสร้างสรรค์ ได้แก่ราศี เมษ สิงห์ ธนู
ราศีธาตุดิน หมายถึง ความหนักแน่น มั่นคง การสะสม เงียบขรึม ได้แก่ราศี พฤษภ กันย์ มังกร
ราศีธาตุลม หมายถึง การเคลื่อนไหว ผันผวนเปลี่ยนแปลง คล่องแคล่ว การติดต่อสื่อสาร ได้แก่ราศี มิถุน ตุลย์ กุมภ์
ราศีธาตุน้ำ หมายถึง ความเมตตา อ่อนไหว อ่อนโยน ไม่แน่นอน เฉื่อยช้า ได้แก่ราศี กรกฏ พิจิก มีน
ธาตุประจำราศี
ธาตุ ธาตุไฟ ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุดิน
ราศีแม่ธาตุ เมษ กรกฏ ตุลย์ มังกร หนักแน่น รุนแรง ขยายออก
ราศีกลางธาตุ สิงห์ พิจิก กุมภ์ พฤษภ มั่นคง หยุดนิ่ง ไม่เปลี่ยน
ราศีปลายธาตุ ธนู มีน มิถุน กันย์ ผันผวนไม่แน่นอน
การโคจรวิปริต (ผิดปกติ)ของดาว พักร (พ) มนท์ (ม) เสริด (ส)
พักร คือ ดาวถอยหลัง ทำให้ผลที่จะได้ล่าช้า ไม่เป็นผล
มนท์ คือ ดาวที่เดินช้า หยุดนิ่ง
เสริด คือ ดาวที่เดินเร็ว กว่าปกติ
ดาวที่ไม่โคจร พักร มนท์ เสริด คือ ดาวอาทิตย์ จันทร์ ราหู เกตุ
ดาวเกษตร เจ้าเรือนราศี
ในแต่ละราศีจะมีดาวเกษตรประจำราศี เรียกว่า "ดาวเกษตร"
การโคจรของดาว อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร์ เสาร์ มฤตยู จะจรทวนเข็มนาฬิกา เรียกว่า อุตราวัฏ (เวียนซ้าย) หรือ เรียกว่า จรตามจักร
การโคจรของ ราหู เกตุ จะจรตามเข็มนาฬิกา เรียกว่า ทักษิณาวัฏ (เวียนขวา)หรือ เรียกว่า จรย้อนจักร หรือ จรทวนจักร
อาทิตย์ อ. (สุริยะ,ระวิ ) แทนด้วยเลข ๑ ธาตุไฟลุกโชน
จันทร์ จ. (ศศิ, จันเทา,โสม,จันทิมา) แทนด้วยเลข ๒ ธาตุดิน ชุ่มน้ำ
อังคาร ภ. (ภุมมะ, ภุมโม,ภุมเมนทร์) แทนด้วยเลข ๓ ธาตุลมกรด
พุธ ว. (พุธะ, วุโธ, พุธัง) แทนด้วยเลข ๔ ธาตุน้ำทะเล น้ำบ่อ
พฤหัส ช. (ชีวะ,ชีโว,ครู, คุรุ) แทนด้วยเลข ๕ ธาตุดินดอน ,ดินแข็ง
ศุกร์ ศ. (ศุกระ, ศุโกร) แทนด้วยเลข ๖ ธาตุน้ำฝน น้ำไหล
เสาร์ ส. (โสโร, เสารี,เสารา) แทนด้วยเลข ๗ ธาตุไฟสุมขอน
ราหู ร. (อสุรินทร์ อสุรินโท อสูร,ขุนยักษ์,ขุนมาร) แทนด้วยเลข ๘ ธาตุลมพายุ
เกตุ ก. แทนด้วยเลข ๙ ธาตุวิญญาณ
มฤตยู ม. แทนด้วยเลข ๐ ธาตุอากาศ
ดาวศุภเคราะห์ (บุญฤทธิ์) คือ จันทร์ พุธ พฤหัส ศุกร์
ดาวบาปเคราะห์ (อิทธิฤทธิ์) คือ อาทิตย์ อังคาร เสาร์ ราหู เกตุ มฤตยู
บางตำราว่า ดาวอาทิตย์ เป็นดาว อัพยากฤต ให้ผลเป็นกลาง
ดาวคู่มิตร คู่ศัตรู คู่สมพล คู่ธาตุ
๑ – ๕ ๑ - ๓ ๑ – ๖ ๑ – ๗
๒ - ๔ ๔ - ๘ ๒ – ๘ ๒ – ๕
๓ – ๖ ๖ - ๗ ๓ – ๕ ๓ – ๘
๗ – ๘ ๒ - ๕ ๔ – ๗ ๔ – ๖
คู่ธาตุมิตร ไฟ กับ ลม ดิน กับ น้ำ
คู่ธาตุศัตรู ไฟ กับ น้ำ ลม กับ ดิน
ความหมายภพ(เรือนชะตา)
ตนุ คือ เจ้าชะตา ตัวตนของเจ้าชะตา นิสัย พฤติกรรม
กดุมภะ คือ ทรัพย์สิน ฐานะการเงิน การได้มา การสะสม
สหัชชะ คือ พี่น้อง เพื่อน สังคม การติดต่อสื่อสาร เดินทางใกล้ ตัวแทน นายหน้า
พันธุ คือ มารดา ญาติ หลักฐานดั้งเดิม ครอบครัว บ้าน รถ ที่ดิน ตำแหน่งหน้าที่
ปุตตะ คือ บุตร คนรัก ความคึกคะนอง ประมาท การเสี่ยงโชค ผจญภัย การเก็งกำไร ดอกเบี้ย การศึกษาในช่วงแรก การเริ่มต้น สิ่งใหม่ๆ
อริ คือ อุปสรรค ความขัดแย้ง ศัตรู หนี้สิน เจ็บป่วย โรคภัย รับใช้ แก้ปัญหาโจร ของหาย
ปัตนิ คือ คู่ครอง คู่สัญญา หุ้นส่วน คู่แข่ง คู่ความ
มรณะ คือ ความตาย การพลัดพราก โยกย้าย ต่างแดน ถิ่นไกล ความเดือดร้อนเสียหาย มรดก
ศุภะ คือ บิดา ผู้หลักผู้ใหญ่ ความเจริญก้าวหน้า เลื่อนตำแหน่ง กฎหมาย ศาสนา การศึกษา ระดับสูง ชื่อเสียง ต่างแดนถิ่นไกล ต่างประเทศ
กัมมะ คือ อาชีพ การงาน ภาระ ความรับผิดชอบ การกระทำ สถานที่ทำงาน
ลาภะ คือ ความสำเร็จ รายได้ ลาภลอย สิ่งที่เพิ่มขึ้นมา เพื่อนสนิท
วินาศ คือ สิ่งที่ไม่เปิดเผย เบื้องหลัง ผู้ที่ช่วยเหลืออย่างลับๆ ลึกลับ การสูญเสีย วิบัติ โยกย้าย เปลี่ยนแปลง ต่างแดนถิ่นไกล ต่างประเทศ คุกตะราง ถูกกุมขัง
ภพของโลก (ตรงกับภพดวงเมือง ประเทศไทย)
ตนุ ราศีเมษ เรียงไปจนถึง วินาศ ราศีมีน
ความหมายดาว
ดาวอาทิตย์ ๑ ร่างกาย จุดเจ้าชะตาชาย สามี บิดา เจ้านาย หัวหน้า ผู้มีอำนาจ ข้าราชการ อำนาจ ยศศักดิ์ ความเย่อหยิ่ง ทิฐิ หรูหราโอ่อ่า ใจร้อนวู่วาม ความร้อน ไฟฟ้า
ดาวจันทร์ ๒ สตรี จุดเจ้าชะตาหญิง ภรรยา มารดา ประชาชนคนทั่วไป ครอบครัว อารมณ์ จินตนาการ การเดินทาง น้ำ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีน้ำใจ
ดาวอังคาร ๓ ผู้ชาย วัยฉกรรจ์ การกระทำ การงาน ความขยัน กล้าแข็ง ภาระ ความรุนแรง แตกหัก ความขัดแย้ง อุบัติเหตุ กะทันหัน ทำลายของแหลมคม โลหะ
ดาวพุธ ๔ อ่อนวัย การติดต่อสื่อสาร ความคิด การวางแผน การเจรจา คำพูด งานเขียน เอกสาร ตัวแทน นายหน้า เพื่อน ข้อมูลข่าวสารไหวพริบปฏิภาณ
ดาวพฤหัสบดี ๕ ผู้หลักผู้ใหญ่ ความสำเร็จ โชคลาภ ความเจริญรุ่งเรือง ความสมบูรณ์ การคุ้มครองรักษา ป้องกัน กฎหมาย ศาสนา ระเบียบแบบแผน ประเพณี ความรู้ การศึกษา
ดาวศุกร์ ๖ ผู้หญิง ความรัก ความหวัง ความสุข ความสวยงาม ศิลปะ บันเทิงรื่นรมย์ ดนตรี เพศสัมพันธ์ การเงิน เงินสด สิ่งหอมหวาน
ดาวเสาร์ ๗ คนแก่ ความทุกข์ โทษ ความยากจน การพลัดพราก โยกย้าย ความตระหนี่ คิดรอบคอบ ตรึกตรอง ที่ดิน วัสดุ ล่าช้า เก่าโบราณเหน็ดเหนื่อย โรคเรื้อรัง
ดาวราหู ๘ โจร ความลุ่มหลง เล่ห์เหลี่ยม ไหวพริบปฏิภาณ การเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านดีและร้าย ผันผวน ไม่แน่นอน ภัยมืด อุบัติเหตุ หลบซ่อน อบายมุข สังคม สิ่งมอมเมา สารเคมี
ดาวเกตุ ๙ คนบ้า คนผิดปกติ ความผันผวน วุ่นวาย กังวล ความผิดปกติ ผิดธรรมชาติ เหนือธรรมชาติ สัมผัสที่หก วิญญาณ เทพ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เดินทางไกล ต่างแดนถิ่นไกล ต่างประเทศ
ดาวมฤตยู ๐ ความเครียด วิกฤติ กะทันหัน ความรุนแรงอย่างเฉียบพลัน ความลับ ไม่เปิดเผย ความวิบัติ ต่างแดนถิ่นไกล ต่างประเทศ วิญญาณ โหราศาสตร์ สิ่งลี้ลับว่างเปล่า
ทายนิสัยของดาวหรือ อำนาจดาว ตามหลักโหรไทยได้วางไว้ดังนี้
ทาย ยศศักดิ์อัครฐาน ทาย อาทิตย์
ทาย รูปจริต จิตใจ ทาย จันทร์
ทาย กล้าแข็ง ขยัน ทาย อังคาร
ทาย เจรจาอ่อนหวาน ทาย พุธ
ทาย ปัญญาบริสุทธิ์ ทาย พฤหัสบดี
ทาย โภคสมบัติ (กิเลสกำหนัด) ทาย ศุกร์
ทาย โทษทุกข์ ทาย เสาร์
ทาย ลุ่มหลง มัวเมา ทาย ราหู
ทาย อายุยืน ทาย เกตุ
ทาย อาเพศ ทาย มฤตยู
ดาวอาทิตย์ กำลัง 6
ดาวจันทร์ กำลัง 15
ดาวอังคาร กำลัง 8
ดาวพุธ กำลัง 17
ดาวเสาร์ กำลัง 10
ดาวพฤหัสบดี กำลัง 19
ดาวราหู กำลัง 12
ดาวศุกร์ กำลัง 21
รวมกำลังดาวทั้งหมดได้ 108
ภูมิทักษาจะนับเรียงโดยเริ่มจาก บริวาร อายุ เดช ศรี มูละ อุตสาหะ มนตรี กาลี (กาลกิณี)
ความหมายของทักษา
บริวาร บุตร หลาน คู่ครอง คนรับใช้ลูกน้อง ผู้ใต้บังคับบัญชา คนที่อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดู
อายุ สภาพความเป็นอยู่ สุขภาพ โรคภัยไข้เจ็บ อายุ การดำเนินชีวิต
เดช ชื่อเสียง เกียรติยศ บรรดาศักดิ์ อำนาจ
ศรี ทรัพย์สิน เงินทอง ความเจริญรุ่งเรือง ความสำเร็จ
มูละ หลักฐานบ้านช่อง ถิ่นที่เกิด ถิ่นที่อยู่อาศัย ที่ดิน หลักทรัพย์หลักฐาน
อุตสาหะ ความขยันหมั่นเพียร ความมานะ การกระทำ การทำงาน อาชีพ
มนตรี ผู้ใหญ่ที่ให้ความช่วยเหลือ อุปถัมภ์ เจ้านาย ผู้บังคับบัญชา
กาลกิณี อุปสรรคต่าง ๆ ความทุกข์โศก ความอับโชค เคราะห์ร้าย อัปมงคล ความเป็นศัตรู
มุมดาว (มุมสัมพันธ์)
1 กุม หรือ ร่วมราศี
คือ ดาวตั้งแต่ 2 ดวงขึ้นไปอยู่ในราศีเดียวกัน ความสัมพันธ์ของดาวลักษณะนี้จะให้ผลหนักแน่น ถ้าเป็นดาวจร เรียกว่า ทับ
2 ร่วมเรือน
คือ ดาวที่สถิตอยู่ในราศี อาจมีความสัมพันธ์ถึงกันได้ โดยเรือนราศีที่ดาวนั้น สถิตอยู่นั้น ๆ เป็นเรือนของ ดาวเกษตรเดียวกัน โดยถือเสมือนบ้านเดียวกัน(เจ้าของบ้านคนเดียวกัน) ย่อมมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องแก่กัน
3 แฝงเรือนเกษตร (เรือนพาไป คล้ายกับร่วมเรือน เรียกอีกอย่างว่า เงาของดาว )
ดาวที่สถิตในราศีหนึ่ง จะมีอำนาจหรืออิทธิพลและมี ความหมายไปถึงอีกราศีหนึ่งได้ โดยราศีนั้นเป็นเรือน เกษตรเดียวกัน กับราศีที่ตนสถิตอยู่
4 แฝงดาวเกษตร(ดาวพาไป)
ดาวที่สถิตในราศีหนึ่ง มีโอกาสที่จะเกิดความสัมพันธ์ถึงราศีอื่น และดาวในราศีอื่นได้ โดยวิธีของ "แฝงดาวเกษตร" คือ ถ้าเจ้าเรือนเกษตรที่ตนสถิตนั้น ไปครองอยู่ในราศีใด ก็จะเป็นสื่อนำ ความสัมพันธ์ของตนนั้นเข้าสัมผัสกับราศี และดาวที่อยู่ราศีนั้น ๆ รวมถึงมีความสัมพันธ์ กับเจ้าเรือนราศีนั้น โดยทางสื่อสัมพันธ์จากดาวเกษตรนั้น ๆ ด้วย
5 ศูนยพาหะ
คือ ดาวที่นำหน้าดาวอื่น 1 ราศี แต่ถ้าราศีข้างหน้าเป็นราศี ว่างไม่มีดาวอยู่ ก็ถือว่าดาวที่อยู่ในเรือนที่ 3 เป็นดาวศูนยพาหะ ซึ่งดาวที่อยู่ข้างหน้าจะมีอิทธิพลต่อดาวที่อยู่ข้างหลัง อย่างมาก
6 จตุโกณ หรือ เกณฑ์ (มุม 90 องศา)
คือมุมที่ดาว อยู่ห่างกัน 4 ราศี เป็น 1 4 7 10 แก่กัน เป็นมุมที่ให้ผลรุนแรง หนักแน่นทั้งด้านดีและร้าย
7 โยค (มุม 60 องศา)
คือ มุมที่ดาว อยู่ห่างกัน 3 ราศี ถ้าอยู่ข้างหน้าเรียกว่า โยคหน้า (เป็น 3) ถ้าอยู่ข้างหลัง เรียกว่า โยคหลัง (เป็น 11 )
8 ตรีโกณ (ร่วมธาตุ หรือ มุม 120 องศา)
คือ ดาวที่อยู่กัน 5 ราศี เป็นมุมที่เกื้อกูลกัน สนับสนุนซึ่งกันและกัน ถึงแม้จะเป็นดาวให้โทษ ก็ให้ผลดีบ้างเพราะร่วมราศีธาตุเดียวกัน
9 กฎแรงเอื้อม
ดาว ๓ แรงเอื้อม เป็น 4 8 , ดาว ๕ แรงเอื้อมเป็น 5 9 , ดาว ๗ แรงเอื้อมเป็น 3 10
หมายเหตุ การนับระยะห่างราศีของดาว ให้นับ 1 ที่ราศีต้องการจะดู เช่น ลัคนาอยู่เมษ มีดาว ๔ โยคหน้า คืออยู่ห่าง 3 ราศี ก็ให้นับ 1 ที่ราศีเมษ นับ 2 ที่ราศีพฤษภ และ นับ 3 ที่ราศีมิถุน ซึ่งมีดาว ๔ สถิตอยู่